ลิขสิทธิ์ ภาพถ่าย คืออะไร ใครเป็นเจ้าของสิทธิ์แล้วอย่างไรคือการละเมิด

ทำไมถึงต้องมาพูดเรื่องนี้ เนื่องจากยังมีความเข้าใจผิดหรือการละเมิดสิทธิ์ค่อยข้างมาก ในหัวข้อนี้ผมจะเน้นการพูดบอกเล่าแบบให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ ไม่เน้นกฏหมายมากไป ถ้าใครอย่าอ่านด้านกฏหมายผมมีลิ้งแนะนำไว้ให้สำหรับการไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม หรือใครอยากแนะนำข้อมูลอะไร แจ้งมาได้เลยครับ

รับถ่ายภาพ ทุกประเภท กับลิขสิทธิ์ และการละเมิด

การรับถ่ายภาพ กับเรื่องลิขสิทธิ์ ภาพถ่ายนี้มีลิขสิทธิ์โดยอย่านำไปใช้ก่อนได้รับอนุญาติ

ในปัจจุบันก็ยังมีความเข้าใจกันผิดของลูกค้าที่จ้างงานถ่ายภาพ ว่าจะถ่ายภาพทำไมแพงๆ หาเอาในอินเตอร์เนทก็ได้ หรือ ยืมมาก่อนก็ได้ ภาพนิดหน่อย ไม่น่าจะมีปัญหา หรือภาพเล็กนิดเดียวคงไม่เป็นไร ความเข้าใจนี้อาจต้องย้อนถามว่าแล้วภาพเหล่านั้นเขาได้มาด้วยประบวนการใด ( งดดรามา ถ้าบอกว่าเมืองไทยยังไม่พร้อมนะครับ เมื่อไม่มีการตื่นตัวหรือไม่รู้และไม่เริ่มนั้นก็คือไม่พร้อม ) แต่ที่จะบอกกล่าวคือการอยากแนะนำการเตรียมความพร้อม และจะได้เข้าใจในทางที่ถูกต้อง

เรื่องลิขสิทธิ์ก็มีส่วนประกอบหลายๆส่วน แล้วแต่จะเรียกเช่น

1. ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เช่น ช่างภาพ ช่างวาดรูป ช่างปั่น ช่างออกแบบ เป็นต้น

2. แบบ ตัวอย่าง เช่น นางแบบ นายแบบ สถานที่

3. ผู้ว่าจ้าง ให้สร้างสรรค์ผลงาน ก็มีสิทธิในของลิขสิทธิ์นี้

4. สิทธิ์ทางสาธารณะ โดยรวม

ตามมาดูกันเลยว่าลิขสิทธิ์แต่ละเภทเชื่อมโยงกันอย่างไร

1. ผู้สร้างสรรค์ผลงาน

สิทธิ์ หรือลิขสิทธิ์ ย่อมเป็นของผู้สร้างสรรค์ผลงานนับตั้งแต่ได้ประดิษคิดค้น ลงมือทำ สร้างสรรค์ ออกแบบ ให้เกิดเป็นงานต่างๆ อย่างเช่นง่ายๆ ช่างภาพ เมื่อช่างภาพผู้นั้น ไม่ว่าใคร เป็นผู้กดชัดเตอร์ สิทธิ์นี้จะเป็นของผู้นั้นโดยปริยาย ตามกฏหมาย ถึงแม้กล้องตัวที่ว่าจะไม่ใช้ของตัวเองก็ตาม และไม่จำเป็นต้องมีอะไรเป็นลายลักอักษร เป็นต้น

2. แบบ หรือตัวอย่าง นางแบบ นายแบบ สถานที่

แบบเองก็มีสิทธิ์ หรือลิขสิทธิ์นะครับ ถ้าแบบนั้นไม่ได้สร้างมาเพื่อสาธารณะประโยชน์ เพราะทุกอย่างล้วนมีเจ้าของที่ถือสิทธิ์ เช่นช่างภาพจะถ่ายภาพนางแบบ นายแบบ ใช่ว่าสิทธิ์อันดับแรก คือของช่างภาพ ที่สร้างสรรค์ผลงาน แต่ช่างภาพก็ยังไม่ได้รับสิทธิ์ทั้งหมดถ้าภาพถ่ายนั้นไม่ได้รับอนุญาติจากแบบที่โดนถ่าย จึงมีการทำเอกสาร (MR) Model release เพื่อให้นางแบบ นายแบบ เซ็นยินยอมในการใช้ภาพนั้นไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม แต่สิทธิ์ก็ยังเป็นของ นางแบบ และนายแบบ บางส่วนด้วย เหมือนกับสถานที่ที่ห้ามถ่ายรูป หรือเก็บเงิน ถ้าเก็บเงินเราก็ต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าไปถ่ายรูป ถึงถ่ายรูปแล้วเราก็อาจไม่มีสิทธิ์ในการนำรูปที่ถ่ายจากสถานที่นั้นๆ มาจำหน่ายเป็นการส่วนตัว ถ้าสถานที่นั้นเขียนเป็นกฏไว้ ก็ทำไม่ได้ยกเว้นให้เจ้าของสถานที่หรือผู้มีอำนาจเซ็นยินยอมให้ใช้สิทธิ์ที่ว่า เอกสารเรียน (PR) Property Release เป็นต้น

3. ผู้ว่าจ้าง นายจ้าง ก็มีกรรมสิทธิ์ และลิขสิทธิ์

ผลงานทุกอย่างที่ผู้ว่าจ้าง นายจ้าง สั่งให้ผู้รับจ้างทำงานให้ ผลผลิตหรือผลงานชิ้นนั้นก็จะตกและเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง นายจ้าง ถึงแม้ลิขสิทธิ์เบื้องต้นจะเป็นของผู้ผลิตผลงาน เช่นช่างภาพที่รับจ้างถ่ายรูป แต่กรรมสิทธิ์หรือลิขสิทธิ์ จะเป็นของผู้ว่าจ้างที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างหรือผลตอบแทนให้แล้ว ส่วนที่ผู้ว่าจ้างจะนำผลงานไปทำอะไรก็ล้วนแล้วแต่กรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างในการเผยแพร่แก้ไขใช้งาน ยกเว้นมีการทำสัญญาระบุเป็นลายลักอักษรขอบเขตในการใช้งาน(ตามกฏหมาย) ว่าการจ้างงานนั้นๆจะรวมถึง กรรมสิทธิ์ทั้งหมดและลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ (ใครเป็นห่วงก็ให้ทำสัญญาให้ตรงตามที่ต้องการกันนะครับ)

4. สิทธิ์ของสาธารณะโดยรวม

ข้อนี้ผมใส่มาเพื่อให้เข้าใจว่า บางเหตุการบางสถานที่เราก็ไม่ได้มีสิทธิ์เต็มในการที่จะทำอะไร เช่น ช่างภาพ ไปถ่ายรูปในส่วนสาธารณะ แล้วไปรบกวนผู้อื่นข้างเคียงเป็นต้น หรือช่างภาพนำรูปสวนสาธารณะบางที่ไป ที่ได้ถ่ายไว้ไปจำหน่าย ก็ผิดลิขสิทธิ์เช่นกัน เพราะไม่ได้ทำการขออนุญาติให้ถูกต้อง หรือแบบที่เราไปถ่ายรูปตึกอาคารถึงจะถ่ายจากสถานที่เป็นสาธารณะก็ตามแต่ก็ไม่มีสิทธิ์ในการนำภาพนั้นไปทำเพื่อการค้า ยกเว้น ภาพข่าว ทำเพื่อการกุศล สาธารณประโยชน์ เป็นต้น

 หมายเหตุ : ยังมีหายท่านเข้าใจผิด และมักตีความกับคำพวกนี้ไม่ถูกต้อง  คือ กรรมสิทธิ์ กับ ลิขสิทธิ์ ไม่ที่เหมือนกันแต่สามารถอยู่ด้วยกัน หรือแยกกันก็ได้….ทั้งหมดขึ้นอยู่กับสัญญาที่เป็นลายลักอักษร (ตามกฏหมาย)

ตัวอย่างเรื่องลิขสิทธิ์

บริษัทหนึ่งให้นักงานไปถ่ายรูปอาหาร มาลงหนังสื่อ พนง ก็ไปที่ร้านอาหาร แล้วถ่ายรูปดังกล่าวโดยไม่ได้แจ้งทางร้านว่าถ่ายไปเพื่อทำการค้า พอกลับมาบริษัทแห่งนี้ก็ได้ทำหนังสื่อเล่นนั้นขึ้น…. สิทธิ์นี้คือ ลิขสิทธิ์อันดับแรกคือ ผู้ถ่าย พนง แต่ไม่มีสิทธิ์ในการนำไปใช้  สิทธิ์ภาพถ่ายทั้งหมดต้องตกเป็นของบริษัทไม่ว่า พนง จะถ่ายมาดีหรือไม่ดี แต่ต่อมาสิทธิ์อีกอย่างคือโดนฟ้องจากร้านอาหารที่ พนง ไปถ่ายมา โดยไม่ได้รับอนุญาติ เห็นไมครับว่ามันมีเรื่อง ลิขสิทธิ์ และสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวกันมากมาย เราควรรู้ไว้บ้างเพื่อจะได้ทำหรือดำเนินการไปในทางที่ถูก

หรือการที่นำรูปในเวปไซด์มากมาย ไปใช้โดยไม่ได้มีการข้ออนุญาติ อันนี้ก็ผิดหลายทาง ยกเว้นการทำภาพข่าวหรือไม่ได้ทำเพื่อการค้า แต่ก็ควรให้ ไลเซ็น หรือ อ้างอิงถึงเจ้าของหรือเว็บไซด์ เจ้าของภาพนั้นๆ ว่าภาพที่ใช้มีที่มาจาก หรือใครเป็นผู้ถ่าย เพื่อเป็นกำลังใจ และที่มา เพราะผู้สร้างก็ต้องสร้างจาก ความสามารถ ศิลปะ หรือ ต้นทุนอื่นๆ ใครคงไม่อยากให้ผู้ใดมาละเมิดหรือนำไปใช้โดยไม่ได้บอกกว่ากันนะครับ

การฟ้องร้องทางกฏหมาย

สำหรับเรื่องนี้ค่อยข้างยุ่งยากพอสมควร แต่แนะนำได้คราวๆว่า กฏหมายแต่ละประเทศจะให้น้ำหนักการลงโทษไม่เหมือนกัน รวมทั้งหมายถึงการเจตนาหรือไม่ก็ตาม ของประเทศไทย อาจเน้นเรื่องการไกล่เกลี่ยก่อน และอาจตกลงกันได้ตรงที่เป็นคดีทางแพ่ง ซะมากกว่าอาญา ส่วนถ้าใครมีประเด่นกันแนะนำให้ผ่านทางทะนายความนะครับ แต่ก็ต้องลองปรึกษากันกับทะนายดีๆนะครับว่าเคสของเราจะเป็นอย่างไร เพราะไม่งั้นอาจเจอฟ้องกลับ แบบไม่ได้อะไรก็มีให้เห็นกันมากแล้ว หรือพลาดที่ทางทะนายอาจไม่ถนัดคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และอีกอันคือคดีที่มีการละเมิดทางอินเตอร์เนท ในบ้านเรานั้นยังค่อยข้าง….(อ่อนเกี่ยวกับการบังคับใช้กฏหมายและการลงโทษ)  ต้องรอดูกันไปว่าจะมีคดีไหนที่มีการฟ้องแล้วศาลสั่งถึงที่สุด เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานกันต่อไป และตลอดไป แต่การฟ้องนั้นอาจจะมีการใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และลากยาวพอสมควร…อันนี้ต้องคิดติตรองให้ดี แต่ปัจจุบันผมเห็นผู้คนเริ่มให้ความสำคัญตรงนี้กันมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้ผลิต เช่น ช่างภาพ ช่างภาพสต๊อกโฟโต้ เอเจนซี่ สำนักข่าว ผู้ผลิตสื่อ รวมถึงลูกค้าเจ้าของแบรนด์ที่ว่าจ้าง เจ้าของสินค้า หรือผู้นำเข้าสินค้ามาจำหน่าย นักศิลปะ เป็นต้น ต่างก็ต้องการปกป้องสิทธิ์ ของตัวเองและผู้อื่น

แต่ช้าก่อน มีข้อคิดอีกหน่อยนะครับ   ถ้าเกิดประเดนตรงทุกคนมัวแต่ปกป้องลิขสิทธิ์มากกันจนเกินเหตุ มันสามารถทำให้ ผู้สร้างสรรค์งานไม่สามารถทำไปต่อยอดความคิด หรือสร้างศิลปะในแบบอื่นๆ เพื่อให้มีการสร้างสรรค์งานสำหรับผู้มีความคิดสร้างสรรค์นะครับ เช่น มีการจดลิขสิทธิ์เทคนิกการบันทึกภาพชนิดหนึ่งไว้ แต่ตัวเองไม่ได้ต่อยอดความคิด ดันมีคนเห็นว่าเทคนิคนี้สามารถสร้างอื่นในแนวอื่นๆ หรือแบบอื่นได้ เกิดนำไปสร้างงานขึ้นมา อย่างนี้จะผิดลิขสิทธิ์กันไหม…บ้างครั้งมันก็เหมือนเส้นบางๆ

ลองไปอ่านข่าวนี้ดีๆ ครับเป็นข้อคิดอย่างหนึ่ง ผมไม่ตีความนะ

คือ มี ศิลปิน ต่างชาติท่านหนึ่ง ไปนำรูปในอินสตาแกรมแล้วนำมาดัดแปลงเล็กน้อย (ถึงน้อยมาก) มาเป็นผลงานตัวเอง แต่ไม่ได้ขออนุญาติเจ้าของรูป แล้วนำไปจัดแสดง สามารถขายได้ในราคา 3.3 ล้านบาท เลยเกิดเป็นประเดนตรงที่มันขายได้เพราะ ศิลปินเขานำมาต่อยอดใช่หรือไม่ แล้วเจ้าของรูปละ สมควรได้รับส่วนแบ่งนี้ไหม หรือ ผิดเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ขโมยรูปมาจากอินสตาแกรม เรื่องนี้ตีความกันยาวมาก…. เพราะมันมองได้หลายมุมมากๆ คือ (รูปนี้ อยู่ๆจะขายได้ราคาขนาดนี้ไหม ถ้าไม่ได้ศิลปินเขานำมาต่อยอด โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำลงไป ถึงแม้การดัดแปลงนั้นเพียงน้อยนิด เพื่อเปลี่ยนเป็นผลงานใหม่ของตัวเอง  หรือ มันเป็นรูปที่ผิดการใช้งานโดยไม่ได้รับขออนุญาติเจ้าของโดยการนำมาใช้งาน หรือควรจะแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งให้เจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวจริงไหม เป็นต้น)  ลองเข้าไปหาข้อมูล อ่านกันได้ที่ Posttoday กดลิ้งนี้ได้เลย

ข่าวคดีตัวอย่าง

คุณจักริน ฟ้องคุณวู้ดดี้  ลิ้งที่มา…  1.Kapook   2. Isrnews   3. Pantip

ฟ้องเว็บไซต์ Ohozaa ฐานละเมิดงานเขียนและภาพอันมีลิขสิทธิ์ ลิ้งที่มา…  Posttoday

 ลิ้งตัวอย่างที่อยากให้ไปศึกษากัน

1. กฏหมายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเรื่องลิขธิ์และสิทธิ์

2. ภาพถ่ายควรเป็นของใคร

3. การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย

4. เมื่อลิขสิทธิ์ของภาพถูกละเมิด ตัวอย่าง

และทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างให้นะครับ โปรดจงเข้าใจด้วยว่าการสร้างสรรค์ผลงานด้วยความตั้งใจนั้น มันจะมีการทุ่มเททั้งแรงการแรงใจ และความรู้ ซื้งกว่าจะได้ผลงานดีๆ ที่ทุกคนหมายปอง ก็ต้องมีที่มาอย่างไม่น่าจะคิดเป็นตัวเงินได้ จึงอยากให้เราช่วยกันพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น อะไรจ่ายได้ก็ควรจ่าย อะไรเซฟได้ก็ควรเซฟ นะครับ

เนื่องจากปัจจุบันนี้ราคาอัตราค่าบริการงานถ่ายภาพนี้ค่อยข้างหลากหลายจึงทำให้ลูกค้าหลงประเด่นว่าจะดูแต่ราคา หรือจะดูคุณภาพของงานหรือต้องการถ่ายอะไรอย่างไร ผมก็แนะนำได้แค่ว่าลองติดต่อพูดคุยกับช่างภาพท่านนั้นๆว่ามีลักษณะอย่างไร ตอบโจทย์งานหรือสร้างสรรค์งานให้ท่านได้หรือไหม ก็จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจในรายละเอียดได้ว่าช่างภาพท่านใดจะเหมาะสมกับงานของท่านหรือท่านจะใช้บริการช่างถ่ายภาพท่านใด เพราะงานถ่ายภาพนั้นเป็นงานศิลปะบวกกับความใส่ใจ และการพิถีพิถันในรายละเอียดของสิ่งที่จะถ่ายไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น สินค้า เครื่องประดับ นางแบบ นายแบบ ดารา บ้าน อินทีเรีย เพราะถ้าจะบอกว่า เอาไฟว่างไว้ แล้วก็กดชัตเตอร์ถ่ายภาพแล้วก็เปลียนสินค้าเลยหรือเป็นงานที่ถ่ายด้วยตู้สินค้าบางประเภท ที่ไม่สามารถควบคุมรายละเอียดได้อย่างถีถ่วน อย่างเช่นตัวอย่างงานถ่ายของ IPHONE MC WORLD โดยงานถ่ายผมก็ไม่ต่างอะไรกับเขาเลย ถึงจะเป็นคนไทย แต่ก็ถ่ายงานเหมือนกันกับฝรั่งที่เราเห็นใน Clip เลยทำให้ว่าทำไมราคาไม่ใช้ตัวจะบอกว่า ผู้ว่าจ้างจะเลือกผู้ถ่ายคนนี้  เชื่อแถอะว่าถ้าต้องการให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของท่านนั้นโดดเด่นเป็นที่น่าสนใจ และดูดีมีราคา สามารถ Add Value ในตัวสินค้าเพิ่มได้อีกจากภาพลักษณ์ ที่ท่านได้ว่างไว้ มันก็คุ้มค่าเป็นอย่างที่สุด ดังนั้นถ้าคิดจะเลือกผมก็เพราะราคาถูกที่สุดคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าบอกว่าเลือกเพราะทำงานได้ตามโจทย์ คุณภาพไม่เป็นรองใคร ราคาเหมาะสม อย่างนี้รีบติดต่อผมมาได้เลย ผมยินดีบริการเต็มที่เพราะผมก็อยากผลิตงานดีให้กับลูกค้าทุกท่านที่ให้ผมบริการ ผมเองก็คงไม่เอาชื่อเสียงที่ทำไว้มาเสี่ยงกับงานที่ไม่สมควรจะทำให้ลูกค่าแบบต่ำกว่ามาตรฐาน

อย่างไรผมก็ขอให้ข้อมูลพวกนี้ เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้าที่ต้องการเลือกช่างภาพสำหรับถ่ายงาน หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่จะจ้างถ่ายงาน

0
ถ่ายงาน 4 Hr/With Studio
0
ถ่ายงาน 8 Hr/Free Fee Studio
0
ถ่ายงาน Image
0
Out Site Start

Comments

comments